วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560

ภารกิจพิเศษ(สรุปวรรณกรรม)

ภารกิจพิเศษ
สรุปการวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นของตนเอง
เรื่อง เสียวสวาด
บทที่ 1
สรุปเรื่องนิทาน เรื่องท้าวเสียวสวาด
             เสียวสวาสดิ์เป็นวรรณกรรมคำสอนที่มีเนื้อเรื่องแทรกเป็นนิทานสลับกับคำสอนตลอดทั้งเรื่อง มีกฎุมพีชราผู้หนึ่งมีบุตร 2 คน ชื่อ ศรีเฉลียว และเสียวสวาสดิ์ ต่อมาพ่อถึงแก่ความตาย ก่อนจะตายได้สั่งสอนลูกให้มีความโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น อย่าเกียจคร้าน หมั่นหาความรู้อย่าคบคนโลเล ให้เชื่อฟังคำพ่อแม่ แล้วยกตัวอย่างนกกระแดบเด้าที่ไม่ฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่เลยจะถูกเหยี่ยวรุ้งจับได้ เมื่อเอาตัวรอดด้วยอุบาย ก็ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพ่อแม่ เหยี่ยวรุ้งเลยตกถูกดินตาย นกกระแดบเด้าเลยรอดตัวมาได้ แต่คำสอนบิดามารดายังไม่เทียบเท่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีคำสอนว่า ความชั่วสามประการ คือ เพื่อนไม่ออกปากวานตนไปช่วยหนึ่ง เพื่อนไม่ถามตนบอกหนึ่ง ไม่มีใครชมตนกลับยกย่องตนเองหนึ่ง ผู้เป็นนักปราชญ์ย่อมไม่หวั่นไหวในโลกธรรม 8 คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ ทุกข์ สุข สรรเสริญ นินทา นักปราชญ์ย่อมไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลว เพราะสิ่งแวดล้อมกำหนด คนควรอยู่ในที่ที่เป็นมงคล และมีนิทานเรื่องช้างพลายที่โจรเลี้ยง มีความประพฤติเลว และต่อมาบัณฑิตเอาไปเลี้ยง มีความประพฤติดี เช่นเดียวกับเรื่อง ดาบสเอานกแขกเต้าไปเลี้ยง กับโจรเอาไปเลี้ยงมีนิสัยไม่เหมือนกัน พูดจาไม่เหมือนกัน เมื่อสั่งเสียเสร็จแล้ว กฎุมพีก็ตายไป หลังจากที่ปลงศพบิดาแล้ว ทั้งสองคนก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดาด้วยดี
  วันหนึ่งมีพ่อค้าสำเภาจากเมืองจำปาไปจอดพักอยู่ เสียวสวาสดิ์จึงได้ขอโดยสารไปกับนายสำเภาด้วย ระหว่างทางที่ไป เสียวสวาสดิ์ถามว่า แก่งนี้มีหินไหม เมื่อไปถึงหมู่บ้านเสียวสวาสดิ์ถามว่า หมู่บ้านนี้มีคนไหม เมื่อไปถึงป่าไม้ เสียวสวาสดิ์ถามว่า มีต้นไม้ไหม นายสำเภาไม่เข้าใจความหมายของเสียวสวาสดิ์ จึงคิดว่าเสียวสวาสดิ์เป็นคนบ้าบอไม่เต็มเต็งแน่ๆ แต่ใจหนึ่งก็อยากได้เสียวสวาสดิ์เป็นลูกเขย เมื่อไปถึงบ้านจึงนำความไปเล่าให้นางศรีไวลูกสาวฟัง นางศรีไวจึงเฉลยปัญหาว่า เมื่อถึงแก่งแล้วถามว่าที่นี่มีหินไหม หมายความว่า มีหินอื่นๆ ที่มีค่ากว่าหินอื่นไหม เมื่อถึงป่าถามว่ามีต้นไม้หรือไม่ หมายความว่า ไม้อื่นๆ มีมากก็จริงแต่ไม้ที่มีค่า เช่น ไม้จันทน์หอม ไม้กฤษณา มีหรือไม่ เมื่อถึงหมู่บ้านถ้าว่ามีคนหรือไม่หมายความว่า ในบ้านมีนักปราชญ์หรือไม่ นายสำเภาทราบว่าเสียวสวาสดิ์เป็นคนมีปัญญาจึงยกนางศรีไวให้เสียวสวาสดิ์ จะกล่าวถึงเจ้าเมืองจำปา ได้จัดให้คนเฝ้าเวรยาม ใครหลับก็จับลงโทษประหารเสีย และริบเอาทรัพย์สิน นายสำเภาเกรงจะมีภัยมาถึงตนจึงมอบทรัพย์สมบัติให้ลูกสาวลูกเขย แล้วเตรียมตัวหนี แล้วเล่าเรื่องกรรมเวรที่มาสนองตอบกัน เช่น ในสมัยหนึ่งวัวตัวหนึ่งขวิดชนพระองค์หนึ่ง ถึงแก่มรณภาพ สาเหตุเนื่องมาจากชาติปางก่อน พระองค์นี้เกิดเป็นลูกเศรษฐีได้หญิงโสเภณีเป็นคู่นอน เมื่อได้หลับนอนกับนางแล้วฆ่านางเสีย เมื่อนางตายไปจึงไปเกิดเป็นวัว แล้วได้มาผูกเวรกันในชาตินี้ เช่นเดียวกับพระโมคคัลลานะถูกโจรตีตาย เพราะชาติก่อนได้ตีมารดาตัวเอง ดังนั้นเรื่องกรรมสนองจึงเป็นเรื่องจริง เสียวสวาสดิ์ได้เข้าไปหาเจ้าเมือง และเล่าเรื่องเป็นทำนองสอนถึงความไม่น่าไว้วางใจในธรรมชาติของมนุษย์เป็นนิทานและบอกข้อเท็จจริงที่ประชาชนเดือดร้อนให้พระราชาทราบ และเล่านิทานเรื่องความโหดร้ายของพระราชาผู้หูเบา นิทานเรื่องเล่ห์เหลี่ยมของคน และนิทานเรื่องการตัดสินคดีความที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม เจ้าเมืองได้ตั้งให้เสียวสวาสดิ์เป็นบัณฑิต และได้สั่งสอนชาวเมือง มีคำสอนเกี่ยวกับผู้ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่เลว โครงสร้างสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของเมือง นิทานของเสียวสวาสดิ์ล้วนเป็นนิทานคำสอน ประกอบธรรมะยังมีรายละเอียดอีกมาก
ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/literture_northeast/31.html

ที่มาและความสำคัญ
วรรณคดีอีสานซึ่งชาวบ้านนับถือมีสำนวนไพเราะและมีสาระเนื้อหาดี ได้แก่ “ลำเสียวสวาด” ซึ่งมาจากศัพท์ว่า “เฉลียวฉลาด” คือความรู้เชี่ยวชาญในวิทยาการที่เชื่อถือได้ เสียวสวาดเป็นวรรณคดีเก่าแก่ของอีสานดั้งเดิม มีเนื้อหาสาระชวนให้ผู้อ่านเกิดปัญญา เป็นการสอนที่แยบคาย ละเอียดลึกซึ้งอันเป็นวิธีการสั่งสอนของนักปราชญ์สมัยโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง แต่เดิมลำเสียวสวาดเชื่อกันว่าแต่งขึ้นเพื่อสอนผู้ครองเมือง หรือราชสำนักที่เรียกว่า “อำมาตย์สอนพระราชา”



ประวัติหนังสือ
เรียบเรียงโดย : พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ
ชื่อเรื่อง : เสียวสวาด
พิมพ์ที่ : อภิชาติการพิมพ์ มหาสารคาม
จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชทานปริญญาบัตร ศิลปะศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ถวายแด่ พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ
3 กรกฎาคม 2523


.......................................................................................................................................................

บทที่ 2
การวิเคราะห์ ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่อง ท้าวเสียวสวาสดิ์


1. วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
                เสียวสวาด เป็นวรรณคดีเก่าแก่ของอีสานดั้งเดิม มีที่มาจากศัพท์ว่า “เฉลียวฉลาด” เชื่อกันว่าแต่งขึ้นเพื่อสอนผู้ครองเมือง หรือราชสำนักเรียกว่า “อำมาตย์สอนพระราชา”  อีกทั้งใช้สอนกุลบุตรกุลธิดาให้รู้จักคิดและปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งคุณงามความดี
2. แก่นเรื่อง
                เสียวสวาด  มีเนื้อหาสาระเป็นลักษณะคำสอนที่เน้นสอนทั้ง บุรุษ สตรี ให้รู้จักปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งคุณงามความดี รวมไปถึงสอนผู้ครองเมืองให้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
3. โครงเรื่อง
เปิดเรื่อง
                -เปิดเรื่องโดยการกล่าวถึงสองพี่น้อง ผู้พี่ชื่อศรีเสลียว น้องชื่อเสียวสวาด
ดำเนินเรื่อง
                -พ่อเรียกศรีเสลียวและเสียวสวาดมาแบ่งสมบัติและสั่งสอนคุณธรรมก่อนตาย
                -เสียวสวาดลงเรือไปค้าขายกับนายสะเภาหลังจากที่พ่อตาย
                -นายสะเภาแลเห็นปัญญาอันชาญฉลาดของเสียวสวาดจึงได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับเสียวสวาด
                -นายสะเภาต้องไปเฝ้าเวรยามที่จำปานครราช แต่เนื่องด้วยใครที่ไปเฝ้าเวรยามแล้วหลับยาม ผู้นั้นจะต้องตาย เสียวสวาดจึงอาสาไปเฝ้าเวรยามแทนพ่อตา
                -ระหว่างเฝ้าเวรยามพระราชาได้แอบย่องมาเพื่อที่จะฆ่าคนหลับเวรยาม
                -เสียวสวาดไม่หลับยามเพราะมัวแต่ท่องมนต์คาถาที่พ่อเคยสอน จึงทำให้พระราชาไม่กล้าฆ่าเวรเฝ้ายาม ทำให้ทุกคนที่หลับยามรอดตายในคืนนั้น
                -พระราชาเรียกเสียวสวาดให้เข้าเฝ้า เสียวสวาดเล่าเรื่องราวของมนต์คาถาที่ตนท่องเมื่อคืนเฝ้าเวรให้พระราชาฟัง แบบนิทานคำสอน
                -ด้วยความมีปัญญาของเสียวสวาด พระราชาจึงแต่งตั้งให้เสียวสวาดเป็นขุนราชบัณฑิต
                -เสียวสวาดได้สอนฮีตคลองกษัตริย์แก่ราชาเมืองจำปาให้มีจิตใจที่เมตตา
                -พระราชาปกครองเมืองจำปาอย่างมีเมตตา ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง และสงบสุข
ปิดเรื่อง
            ปิดเรื่องโดยการนำคำสอน คำกลอนสอนใจ มาปิดเรื่องตอนท้ายอีกครั้ง

ปมเรื่อง
                ผู้เฝ้าเวรยามที่เมืองจำปาถ้าหลับยามจะต้องตายทุกคน
คลายปม
                เสียวสวาดไม่หลับเวรยามจึงทำให้รู้ถึงสาเหตุการตายของเวรยามว่าเกิดจากการขี้ระแวงของพระราชา ที่ออกมาฆ่าเวรยามที่หลับยาม เสียวสวาดจึงใช้ปัญญาอันชาญฉลาดนำคำกลอนมาสอนพระราชา จนหายระแวง

4. ตัวละคร
ตัวละครหลัก
ท้าวเสียวสวาสดิ์
          เป็นลูกของสองเขือเจ้ากุฏุมพีทั้งสอง มีพี่ชายหนึ่งคน ชื่อศรีเฉลียว เป็นคนงานดั่งอินทร์แปลงปั้น ส่วนเสียวสวาสดิ์เก่งกล้านาม มีปัญญาปราดเปรียวปานนักปราชญ์ มีไหวพริบทันคนแก้ปัญหานานาชนิดได้ดี

พระราชา(แห่งเมืองจำปา)
                    เป็นพระราชาครองเมืองจำปา มีนิสัยใจชั่วช้าขี้ระแวงคอยแต่จะฆ่าคน ชาวเมืองเดือดร้อนทุกข์ใจ ทำให้บ้านเมืองไม่มีศีลธรรมการดำเนินชีวิตลำบากแสนเข็ญ

 นายสะเภา
                    เป็นพ้อค้าเร่ร่อนทางเรือมีนิสัยใจคอดี มีจิตใจเมตตากรุณาต่อผู้คน
         
 นางศรีไวน้อย(ภรรยาเสียวสวาด)
                    เป็นลูกสาวของนายสะเภาพ่อค้าทางเรือ มีนิสัยดี จิตใจอ่อนโยน มีปัญญาฉลาดรอบรู้หลักแหลม
           
ตัวละครรอ
ศรีเฉลียว
                     เป็นพี่ชายของเสียวสวาด แต่มีปัญญาที่ไม่หลักแหลมมากนัก ไม่สู้น้องชายของตน แต่มีรูปร่างที่งามดั่งพระอินทร์แปลงปั้น
           


5. ภาษา
        การใช้ภาษาของนิทาน เรื่องท้าวเสียวสวาด เป็นคำกลอนอีสานโบราณ ซึ่งต้นฉบับเดิมได้มาจากอุบาสิกาบ้านข้างวัดพระธาตุเชิงมุม จังหวัดสกลนคร จารึกด้วยอักษรลาวไทยน้อย

6. ฉาก/สถานที่
เมืองพาราณสีกฎุมพี  
       เป็นฉากที่พ่อของท้าวเสียวสวาดสั่งสอนลูกก่อนตาย
บนเรือสะเภา
        เป็นฉากที่ท้าวเสียวสวาดเดินทางเพื่อหาที่อยู่ เพื่อไปค้าขายกับพ่อค้านาย
เมืองจำปากว้างนครหลวง
          เป็นฉากที่ท้าวเสียวสวาดได้เข้าไปเป็นทหารเฝ้ายามแทนพ่อตา เพื่อตอบแทนบุญคุณ และได้ใช้ปัญญาของตนในการแก้ปัญหาด้วยการเล่านิทาน จนพระราชาผู้ไม่มีศีลธรรมเกิดความเลื่อมใสในธรรมคำสอน และปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม


...................................................................................................................................................................

 บทที่ 3
ความโดดเด่นของเรื่อง
             
           วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องนิทานท้าวเสียวสวาสดิ์ มีความโดเด่นของเรื่องตรงที่ใช้นิทานธรรมสอน ซึ่งในนิทานแต่ละเรื่อง มีจำนวนมากกว่า 50 เรื่อง และในนิทานแต่ละเรื่องก็ได้สอดแทรกข้อคิด หรือคติเตือนใจมากมาย รวมทั้งผญาที่ใช้สอนลูก      คำสอนของพระพุทธเจ้า ยกตัวอย่างนิทานเรื่องกุททาลบัณฑิต
          มีชายหนุ่มคนนึง ชื่อว่ากุททาละ บ่มีทรัพย์สมบัติหยังติดโต ทรัพย์ติดโตมีแค่หมากจกอันเดียวกับเมล็ดพันธุ์พืช กุททาละ กะใช้หมากจก ถางหญ้าขุดดิน ปลูกข้าวโพด หมากอึ หมากแตง เป็นต้น หาเลี้ยงชีพ  อยู่มามื้อนึง กุททาละ คิดว่า ใหญ่มาปานนี้แล้วกะยังบ่มีทรัพย์สมบัติอีหยัง มีแต่หากินไปมื้อๆท่อนั้น กะเกิดเบื่อหน่ายชีวิต คิดอยากบวชเป็นฤๅษี  พอเหมิดหนาว เข้าหน้าฮ้อน กุททาละ กะเลยเอาหมากจกกับเมล็ดพันธุ์พืชทั้งหลาย ไปเซี่ยงเมี้ยนไว้อย่างดี แล้วกะบวชเป็นฤๅษี บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่า  ต่อมาเข้าหน้าฝน ฝนกะตกฮวยฮำให้ดินชุ่ม กุททาละกะคิดว่าฝนตกดีจั่งซี้ เป็นตาปลูกถั่ว ปลูกข้าวโพดงามดีคัก กะเลยถอดชุดฤๅษีสึกออกมา เอาหมากจกกับเมล็ดพันธุ์พืชไป ถางไฮ่ปลูกถั่ว ปลูกข้าวโพด เลี้ยงชีวิตจนเหมิดหน้าหนาว กะคิดคือเก่าอีก แล้วกะไปบวชอีก แล้วกะคิดคือเก่าอีก กะสึกอีก..กุททาละ สึกแล้วกะบวช บวชแล้วกะสึก อยู่จั่งซี้ ถึง 6 เทื่อ เทื่อที่เจ็ดก่อนสิบวช กะมาคิดฮินตรองว่า “ที่เฮาบวชอยู่ได้บ่ดน กะย่อนหมากจกกับไนบักถั่ว ไนข้าวโพดซุมนี้ล่ะ อืม เฮาฮู้ล่ะ เฮาฮู้เหตุล่ะ.. คันซั้น งวดนี้ เฮาต้องเอาของซุมนี้ไปทิ้งซะ” คิดแล้วกะถือหมากจกกับห่อเมล็ดพันธุ์พืช ย่างไปริมแม่น้ำสิดึกโยนลงน้ำก่อนสิโยนกะคิดอีกว่าคันเฮาเห็นหม่องที่หมากจกตกลงน้ำ กะอาจสิกลับมา งมหาเอาอีก..คิดแล้ว กะเลยหลับตา หมุนโตสามรอบเหวี่ยงหมากจกกับเมล็ดพันธุ์พืชลงแม่น้ำ อย่างสุดแฮง ได้ยินแต่เสียงดัง ‘จุ๋ม’ แต่บ่ฮู้ว่าตกหม่องได๋ แล้วกะฮ้องดังๆว่า
“ชนะแล้ว ชนะแล้ว””


...................................................................................................................................................................

บทที่ 4
การประยุกต์ใช้

1.       นิทานเรื่องท้าวเสียวสวาสดิ์ ปัจจุบันนำไปใช้เป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็ก



          กลุ่มเด็กโต วัย 6-12 ปี
          นิทานประกอบภาพ
          รายละเอียด: เป็นนิทานพื้นถิ่นของชาวไทยอีสาน เป็นคำสอนที่พ่อนำมาสอนลูกทั้ง 2 คน มีทั้งหมด 20 ตอน นิทานเรื่องนี้สะท้อนถึงภูมิปัญญา ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ของชาวเผ่าไทยลาวลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งยังให้ความสนุกสนาน และคติสอนใจ ที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต
          ISBN : 9740826652 (ปกอ่อน)
          สำนักพิมพ์: ไทยวัฒนาพานิช
          ผู้แต่ง/ผู้วาดภาพประกอบ: เรื่องโดย คำหมาน คนไค
          พิมพ์ครั้งที่: 3,259


2. สื่อการเรียนรู้
         นิทานพื้นบ้านอีสาน
ที่มา:http://www.isan.clubs.chula.ac.th/para_norkhai/?transaction=post_view.php&cat_main=3&id_main=47&star=0
          วรรณคดีของลาว ที่เป็นที่นิยมมานานกว่าสามร้อยปี เป็นนิทานสุภาษิตที่คนลาวให้ความสำคัญหลาย กะคือ วรรณคดีเรื่อง “ท้าวเสียวสวาด” หรือ “ศรีเสลียว เสียวสวาด” หรือแยกย่อยออกมาเป็น“ปัญหาเสียวสวาด” “ผญาเสียวสวาด”
           ท้าวเสียวสวาด ฟังชื่อผิวเผิน อาจสิเข้าใจว่า เป็นนิทานตลกโปกฮาไปทางลามก สองแง่สามง่าม แต่จริงๆ แล้ว บ่ได้เกี่ยวกับเรื่องลามกทำนองนั้นเลย ท้าวเสียวสวาด เป็นคนมีปัญญาฉลาดหลักแหลม แล้วกะใช้ปัญญาอันฉลาดนั้นช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นที่ปรึกษาของพระราชา จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลาย.... ถ้าสิเอิ้นให้เข้าใจง่ายๆ กะคือท้าวเฉลียวฉลาด นั่นล่ะ
           จากวรรณคดีเรื่อง ท้าวเสียวสวาด สิมีผญาสุภาษิตคำสอน ต่างๆ มากมาย ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งลาวและไทยอีสาน ได้นำมาเป็นคำสอนและหลักปฏิบัติสืบมาดนเท่าดน (แต่ปัจจุบัน คนที่ฮู้ผญาเสียวสวาด มีหน่อยเท่าหน่อย... บางเทื่อผญาที่เอามาเว้ากัน กะมาจากผญาเสียวสวาด แต่กะบ่ฮู้ว่ามาจากผญาเสียวสวาด กะมี)
 ตัวอย่างผญาเสียวสวาด
"นกอีเอี้ยงกินหมากโพธิ์ไทร แซวแซว เสียง บ่มีโตฮ้อง แซวแซวฮ้อง โตเดียวเหมิดหมู่.."
"..คำปากพ่อแม่นี้ หนักเกิ่งธรณี  ใผผู้ยำแยงนบ หากสิเฮืองเมื่อหน้า
ในให้เสมอน้ำ คุงคาสมุทรใหญ่ ให้เจ้าคึดถี่ถ้วน ดีแล้วจึงค่อยจา
อย่าได้เฮ็ดใจเพี้ยง เขาฮอขมขื่ม ความคึดเจ้าอย่าตื้น เสมอหม้อปากแบน
สิบตำลึงอยู่ฟากน้ำ อย่าได้อ่าวคนิงหา สองสะลึงแล่นมามือ ให้เจ้ากำเอาไว้
มีเงินล้นเต็มถง อย่าฟ้าวอ่งหลายเน้อ ลางเทื่อ ทุกข์มอดไฮ้ เมื่อหน้าส่องบ่เห็น
เงินหากหมดเสียแล้ว ขวัญยังดอมไถ่ อันว่าผ้าขาดแล้ว แซงนั้นหากยัง
ฮักผัวให้ มีใจผายเผื่อ ฮักผัวให้ฮักพี่น้อง แนวน้าแม่ผัว
ฟักเฮือไว้ หลายลำแฮท่า หม่าข้าวไว้ หลายบ้านทั่วเมือง.."

อินโฟกราฟฟิค ( Infographic)   เรื่อง   เสียวสวาด




นางสาวพัชรี  อ่อนพิมพ์  ภาษาไทยปี3  หมู่1 รหัส 57210406117

วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

แต่งเพลงจากวรรณกรรมอีสานเรื่องเสียวสวาด

เพลงออนซอนเสียวสวาด
ตอนเสียวสวาดไปเฝ้ายามที่เมืองจำปา

     

  ออนซอนหลายเด พ่อเสียวสวาดรูปงาม
ความฮู้ล้ำบ่มีไผปาน  พ่องามขำค้ำจุนบ้านเมือง
พ่อเพิ่นจดจำสิ่งดีเพิ่นทำจนชื่อลือเลื่อง
เก่งกล้าหาญ ฉลาดปราดเปรื่อง
ชื่อพ่อเขาเลื่องลือมา

เจ้าเมืองจำปาเพิ่นหาคนไปเฝ้าเมือง
บ่มีไผไปเขาขลาดย่านตาย  ย่านชีพวายเหลือศพคืนเมือ
พ่อเพิ่นบ่ย่าน  บ่ขลาดความตายอาสาไปเฝ้า
สิบทวารบ่ให้ไผเข้า
เพิ่นเลยรอดตายคืนมา

ปัญหาอิหยังเข้ามาให้เพิ่นแก้ไข
เพิ่นคิดถี่ถ้วนก่อนตอบออกไป  เพิ่นแก้ได้ด้วยมีปัญญา
ย่อนความเก่งเพิ่น พ่อพญาเลยถืกชะตา
เอิ้นเพิ่นเข้าในเมืองจำปา
ให้มาเป็นราชครู

ออนซอนหลายแฮง  พ่อเสียวสวาดรูปงาม
ได้ยศศักดิ์เป็นราชครู  ไปอยู่ไสใครๆนับถือ
เพิ่นบ่หลงตน บ่เคยลืมตัวว่ามาจากไส
ไซ่ปัญญาแทนคุณบ้านเมือง
สมเป็นเพชรเด่นเมืองลาว
  
ทำนอง:กุหลาบเวียงพิงค์
:อรวี  สัจจานนท์  

นางสาวพัชรี  อ่อนพิมพ์  ชั้นปีที่ 3 หมู่ที่ 1 รหัส 57210406117

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปริศนาคำทาย

ภารกิจที่ ๓/๑ ปริศนาคำทาย

บ้านสระแก้ว  ตำบลนากอก  อำเภอศรีบุญเรือง  จังหวัดหนองบัวลำภู

โครงสร้างปริศนาคำทาย
                ๑.อารัมภบท/ส่วนนำ
        
                ๒.บอกสมญา
                                -บอกลักษณะเด่น
                ๓.พรรณนาลักษณะ
                                -ขยาย
                ๔.จุดบอด/จุดสะดุดใจ
                                -ทำให้ชัด
                                -ทำให้งง
                ๕.สรุป/หมวดหมู่
                                -ทาย/เงื่อนไข
                ๖.ส่วนเฉลย
                                -อธิบาย

๑.คำถามหมวดอวัยวะ


๒. คำถามหมวดพืช


๓. คำถามหมวดสัตว์



๔. คำถามหมวดสิ่งของเครื่องใช้



๕. คำถามหมวดดินฟ้าอากาศ / ธรรมชาติ


๖. คำถามหมวดอาหารการกิน


๗.คำถามหมวดกิจกรรมการละเล่น


๘. คำถามหมวดความเชื่อ / ประเพณี


๙. คำถามหมวดความสัมพันธ์ทางสังคม ครอบครัว บุคคล





นางสาวพัชรี  อ่อนพิมพ์  สาขาวิชาภาษาไทย  
ชั้นปีที่ ๓  หมู่ที่ ๑   รหัส ๕๗๒๑๐๔๐๖๑๑๗

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

Infographic


    ภารกิจที่2/1

          อินโฟกราฟฟิค ( Infographic)   เรื่อง   เสียวสวาด




นางสาวพัชรี  อ่อนพิมพ์ ปี3  หมู่1  รหัสนักศึกษา 57210406117  สาขาภาษาไทย    คณะครุศาสตร์ 

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

วิเคราะห์เสียวสวาด


1.      วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
                เสียวสวาด เป็นวรรณคดีเก่าแก่ของอีสานดั้งเดิม มีที่มาจากศัพท์ว่า “เฉลียวฉลาด” เชื่อกันว่าแต่งขึ้นเพื่อสอนผู้ครองเมือง หรือราชสำนักเรียกว่า “อำมาตย์สอนพระราชา”  อีกทั้งใช้สอนกุลบุตรกุลธิดาให้รู้จักคิดและปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งคุณงามความดี
2.      แก่นเรื่อง
                เสียวสวาด  มีเนื้อหาสาระเป็นลักษณะคำสอนที่เน้นสอนทั้ง บุรุษ สตรี ให้รู้จักปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งคุณงามความดี รวมไปถึงสอนผู้ครองเมืองให้ปกครองบ้านเมืองโดยธรรม
3.      โครงเรื่อง
เปิดเรื่อง
                -เปิดเรื่องโดยการกล่าวถึงสองพี่น้อง ผู้พี่ชื่อศรีเสลียว น้องชื่อเสียวสวาด
ดำเนินเรื่อง
                -พ่อเรียกศรีเสลียวและเสียวสวาดมาแบ่งสมบัติและสั่งสอนคุณธรรมก่อนตาย
                -เสียวสวาดลงเรือไปค้าขายกับนายสะเภาหลังจากที่พ่อตาย
                -นายสะเภาแลเห็นปัญญาอันชาญฉลาดของเสียวสวาดจึงได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับเสียวสวาด
                -นายสะเภาต้องไปเฝ้าเวรยามที่จำปานครราช แต่เนื่องด้วยใครที่ไปเฝ้าเวรยามแล้วหลับยาม ผู้นั้นจะต้องตาย เสียวสวาดจึงอาสาไปเฝ้าเวรยามแทนพ่อตา
                -ระหว่างเฝ้าเวรยามพระราชาได้แอบย่องมาเพื่อที่จะฆ่าคนหลับเวรยาม
                -เสียวสวาดไม่หลับยามเพราะมัวแต่ท่องมนต์คาถาที่พ่อเคยสอน จึงทำให้พระราชาไม่กล้าฆ่าเวรเฝ้ายาม ทำให้ทุกคนที่หลับยามรอดตายในคืนนั้น
                -พระราชาเรียกเสียวสวาดให้เข้าเฝ้า เสียวสวาดเล่าเรื่องราวของมนต์คาถาที่ตนท่องเมื่อคืนเฝ้าเวรให้พระราชาฟัง แบบนิทานคำสอน
                -ด้วยความมีปัญญาของเสียวสวาด พระราชาจึงแต่งตั้งให้เสียวสวาดเป็นขุนราชบัณฑิต
                -เสียวสวาดได้สอนฮีตคลองกษัตริย์แก่ราชาเมืองจำปาให้มีจิตใจที่เมตตา
                -พระราชาปกครองเมืองจำปาอย่างมีเมตตา ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง และสงบสุข
ปิดเรื่อง
            ปิดเรื่องโดยการนำคำสอน คำกลอนสอนใจ มาปิดเรื่องตอนท้ายอีกครั้ง

ปมเรื่อง
                ผู้เฝ้าเวรยามที่เมืองจำปาถ้าหลับยามจะต้องตายทุกคน
คลายปม
                เสียวสวาดไม่หลับเวรยามจึงทำให้รู้ถึงสาเหตุการตายของเวรยามว่าเกิดจากการขี้ระแวงของพระราชา ที่ออกมาฆ่าเวรยามที่หลับยาม เสียวสวาดจึงใช้ปัญญาอันชาญฉลาดนำคำกลอนมาสอนพระราชา จนหายระแวง